วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพในวันวิสาขบูชา

.



วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันวิสาขบูชา ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต จึงได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก





เดินขึ้นดอยสุเทพ
บริเวณลานครูบาศรีวิชัย
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ลานครูบาศรีวิชัยเป็นที่เปิดงานประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
น้องใหม่ พร้อมที่จะเดินขึ้นดอยแล้วเจ้า
เดินขึ้นดอยสุเทพ
จุดบริการอาหารและเครื่องดื่ม
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
เดินขึ้นดอยสุเทพ
อย่าลืมมาฮ่วมสืบสานป๋าเวณีเตียวขึ้นดอยนะเจ้า
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
เดินขึ้นดอยสุเทพ
แต่ละจุดบริการก็จะมีซุ้มตักบาตรเหรียญพระประจำวันเกิด
เดินขึ้นดอยสุเทพ
จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เดินขึ้นดอยสุเทพ
กำลังเตรียมน้ำดื่มเย็น ๆ ไว้คอยแจกฟรี
เดินขึ้นดอยสุเทพ
สามเณรน้อยก็ร่วมเดินขึ้นดอยสุเทพด้วย

เดินขึ้นดอยสุเทพ
น้ำดื่มเย็น ๆ จากชมรมกัลยาณธรรม
ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ลุงก็มาเหมือนกัน
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ถึงฝนตกก็บ่ถอยเจ้า


สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันวิสาขบูชาโดยทั่วไปที่บรรดา พุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติสืบมาก็จะเริ่มตั้งแต่การทำบุญตักบาตรในยามรุ่ง อรุณ ตอนกลางวันก็เข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม พอตกกลางคืนก็จะประกอบพิธีเวียนเทียน แต่สำหรับชาวเชียงใหม่ยังมีประเพณีสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ยึดถือและปฏิบัติ กันสืบมา นั่นก็คือ “ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ”

ประเพณีการเดินขึ้นดอยสุเทพนั้น เชื่อว่าคงจะเริ่มกันตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ที่องค์พระบรม สารีริกธาตุ วัดสวนดอกแยกออกเป็น 2 องค์ ทำให้พระเจ้ากือนา กษัตริย์ผู้ครองราชย์สมัยนั้น คิดหาสถานที่ที่จะสร้างวัดขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอีกองค์หนึ่ง จึงทรงทำการเสี่ยงทายในวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือน 6 ของปีนั้น ทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคล ถ้าช้างไปหยุด ณ จุดใด ก็จะใช้สถานที่นั้น เป็นที่สร้างวัดเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ช้างเสี่ยงทายเริ่มเดินออกจากวัดสวนดอก บ่ายหน้าขึ้นสู่ดอยสุเทพไปจนถึงยอดชั้นที่ 1 ชื่อดอยหมากขนุน หรือดอยช้างนูน และขึ้นต่อไปถึงยอดชั้นที่ 2 ชื่อ ดอยสนามยอด หรือดอยสามยอด ระหว่างทางช้างเกิดสั่นและหยุดพักช่วงหนึ่ง พระเจ้ากือนาจึงโปรดให้สร้างวัดขึ้น ณ จุดที่ช้างพัก ปัจจุบันคือ วัดผาลาด เมื่อ ช้างหายเหนื่อยก็ลุกเดินต่อมุ่งหน้าไปจนถึงชั้นที่ 3 ชื่อ ว่า ดอยสุเทพ ซึ่งขณะนั้นมีฤาษีวาสุเทพนั่งบำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำ ช้างก็ไปหยุดและตายที่นั่น พระเจ้ากือนาจึงทรงให้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพขึ้นตรงจุดนั้น และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเจดีย์ และในปัจจุบันมีการปั้นรูปช้างอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย



เดินขึ้นดอยสุเทพ
เตรียมพร้อมสำหรับขบวนแห่
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ทำมาจากหมากพลูค่ะ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ฝีมือสวยงามมาก
เดินขึ้นดอยสุเทพ
วัสดุทุกอย่างมากจากธรรมชาติ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
เตรียมพร้อมสำหรับขบวนแห่
เดินขึ้นดอยสุเทพ
สามเณรก็มาร่วมงานด้วย


จากจุดที่ช้างเดินจากวัดสวนดอกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดเส้นทางที่เรียกว่า ด่านช้าง ภายหลังจากที่สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว พระเจ้ากือนาก็ทรงใช้เส้นทางดังกล่าวนี้เดินขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ จนกลายมาเป็นประเพณีเดินขึ้นนมัสการพระธาตุดอยสุเทพสืบต่อมา ด้วยเชื่อว่าจะทำบุญให้ได้กุศลแรงจะต้องเดินขึ้นไปทำบุญที่วัด ประเพณีเดินขึ้นนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ จะจัดในวัน ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 เรื่อยไปจนถึงเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นประเพณีที่ชาวเชียงใหม่ถือปฏิบัติสืบมาเป็นประจำทุปี เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นเอกลักษณ์พิเศษของชาวล้านนา

ต่อมาจุดเปลี่ยนแปลงของประเพณีเกิดขึ้นเมื่อปี 2477 เมื่อพระครูบาศรีวิชัยร่วมกับชาวล้านนาสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เพราะเส้นทางเดิมที่ใช้เดินขึ้นดอย ลักษณะเป็นทางเดินเท้า ทั้งสูงชันและคับแคบ ดังนั้นเมื่อเดินทางไปก็จะต้องพักแรมอยู่นมัสการอบรมสมโภชเป็นเวลาหลายวัน ถึงจะเดินทางกลับบ้าน เส้นทางที่ครูบาศรีวิชัยสร้างขึ้นนั้น ได้ชื่อว่า ถนนศรีวิชัย ซึ่งในตอนแรกที่ทำถนนเป็นถนนดินลูกรัง ต่อมามีการปรับปรุงเป็นถนนลาดยางในปี 2524 เมื่อพระธาตุดอยสุเทพเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ตามเส้นทางถนนศรีวิชัย ไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพ พระครูบาศรีวิชัยและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นอีก 3 วัด คือ วัดโสดาบรรณ ปัจจุบันคือวัดศรีโสดา วัดสกินาคามี ปัจจุบันคือ วัดผาลาด และวัดอนาคามี ซึ่งกลายเป็นวัดร้างในปัจจุบัน



พระ ครูบาศรีวิชัย ได้เปรียบการเดินทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพไว้ว่าเป็นเสมือนการเดินทางไปสู่ การตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ของพระพุทธเจ้า โดยเปรียบเทียบวัดพระธาตุดอยสุเทพ คือวัดอรหันต์ ลักษณะการเดินทางจะเดินด้วยเท้า ถือประทีป ธูปเทียน โดยเริ่ม ณ วัดศรีโสดา และนมัสการวัดสกินาคามี และวัดอนาคามี และเดินทางขึ้นไปนมัสการวัดพระธาตุดอยสุเทพ หลังจากนั้นก็บำเพ็ญศีลวิปัสสนา ทำบุญตักบาตรในเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วจึงเดินทางกลับ จึงถือว่าได้อานิสงส์แรง หรือได้ทำบุญมาก นอกจากนั้นประเพณีการเดินขึ้นดอยในยุคหลังครูบาศรีวิชัย สร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ นอกจากจะเป็นการเดินขึ้นไปปฏิบัติธรรมสักการะองค์พระบรมธาตุดอยสุเทพแล้ว ยังเป็นการรำลึกถึงพระคุณแห่งครูบาศรีวิชัย ที่ได้เป็นผู้นำในการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพนี้อีกด้วย

เดินขึ้นดอยสุเทพ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
มุมนี้เก็บมาฝากครับ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
บ้างก็มาเป็นคู่ บ้างก็มาเป็นครอบครัว
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ภาพนี้ตั้งใจเก็บมาฝากเช่นกัน
เดินขึ้นดอยสุเทพ
พุทธศาสนิกชนร่วมใจกันมาทำบุญ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
รับน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลกันหน่อย
เดินขึ้นดอยสุเทพ
เหนื่อยก็พักก่อน
เดินขึ้นดอยสุเทพ
หายเหนื่อยแล้วก็เดินต่อ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
มีคนมาร่วมเดินกันมาก
เดินขึ้นดอยสุเทพ
แบบว่าน้องใหม่ไฟแรง
เดินขึ้นดอยสุเทพ
หนูไปด้วย แต่เดินไม่ไหว ขอแบบนี้แล้วกัน
เดินขึ้นดอยสุเทพ
รับศีลรับพรกันก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล
เดินขึ้นดอยสุเทพ
รูปนี้ตั้งใจเก็บมาฝากครับ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
เดินไป หัวเราะไป หายเหนื่อยเลย
เดินขึ้นดอยสุเทพ
เมืองเชียงใหม่ยามค่ำคืน
เดินขึ้นดอยสุเทพ
เมืองเชียงใหม่ยามค่ำคืน
เดินขึ้นดอยสุเทพ
เมืองเชียงใหม่ยามค่ำคืน


เดินขึ้นดอยสุเทพ เดินขึ้นดอยสุเทพ





ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพนี้จะจัด กันทุกปี ในคืนก่อนวันวิสาขบูชา ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเชียงใหม่ โดยลูกหลานชาวเชียงใหม่จะมาร่วมกันเดินขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ โดยจะมีขบวนพระภิกษุสงฆ์ และขบวนของคณะต่างๆ ทั้งตัวแทนหมู่บ้าน บริษัท ห้างร้าน องค์กรต่าง ๆ และบรรดานักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ฯลฯ จะเริ่มเดินกันตั้งแต่ตอนเย็น จุดเริ่มต้นคือ หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินผ่านหน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ และผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ อันเป็นที่สักการะยิ่งของชาวเชียงใหม่ ก่อน ผ่านไปเราก็ต้องกราบไหว้ครูบาศรีวิชัยกันก่อน และเดินไปตามถนนเรื่อยๆ ตามเนินเขาจนถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ระยะโดยประมาณ 14 กิโลเมตร ดูเหมือนว่าเป็นตัวเลขน้อย ๆ แต่ขอบอกว่าเป็นทางเดินขึ้นเขานะจ้า ( หรือภาษาปากเรา ๆ ก็คือ 14 กิโลแม้วเจ้า เป็นที่เข้าใจ )
ตลอดเส้นทางเดินขึ้นดอยสุเทพ จะมีจุดบริการทั้งหมด 10 จุด ซึ่งแต่ละจุดก็มาจากแรงศรัทธาของชาวเชียงใหม่ มีทั้งบริษัทห้างร้าน วัดต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานราชการ ได้จัดจุดบริการเพื่อร่วมศรัทธาอันแรงกล้า ซึ่งแต่ละจุดก็จะมีอาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ แจกให้กับผู้ที่ร่วมเดินขึ้นดอยสุเทพฟรี แบบไม่คิดเงิน อีกทั้งยังจัดซุ้มพระประจำวันเกิด เพื่อให้ผู้ที่ร่วมเดินได้ทำการสรงน้ำพระประจำวันเกิด

เดินขึ้นดอยสุเทพ
ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ถึงแล้วค่ะพระธาตุดอยสุเทพ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ยินดีต้องรับสู่ดอยสุเทพ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
จะเดินขึ้นไหวมั้ยเนี้ยะ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
การแสดงฟ้อนเล็บจากเด็กนักเรียน
เดินขึ้นดอยสุเทพ
พระธาตุดอยสุเทพในยามค่ำคืน

เดินขึ้นดอยสุเทพ
เหลืองทองอร่ามทั้งองค์

เดินขึ้นดอยสุเทพ
สวยงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้
เดินขึ้นดอยสุเทพ
พระธาตุดอยสุเทพในยามค่ำคืน สวยงามมาก
เดินขึ้นดอยสุเทพ
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
องค์พระปรพธานในวิหารหลวง
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ผู้คนต่างแห่แหนกันมาเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ
เดินขึ้นดอยสุเทพ
ผู้คนต่างแห่แหนกันมาเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ


นอกจากจุดบริการทั้ง 10 จุดแล้ว ตลอดเส้นทางก็จะมีชาวเชียงใหม่บางส่วนนำโต๊ะมาวางอาหาร และน้ำดื่ม สำหรับแจกฟรีอีกด้วย มีทั้งข้าวไข่เจียว ผัดไทย ข้าวเหนียวหมูปิ้ง อร่อยทั้งนั้นเลย แบบว่าพอเหนื่อยก็พักแล้วกิน หายเหนื่อยก็เดินต่อ เหนื่อยอีกทีก็พักแล้วกิน หายเหนื่อยก็เดินต่อ ภาพของความมีน้ำใจของชาวเชียงใหม่ และภาพแห่งความสามัคคีมันติดตรึงอยู่ในหัวใจของหมูหิน และผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ซึ่งความสามัคคีและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มันเป็นสิ่งเดียวที่ประเทศไทยต้องการในวินาทีนี้

นอก จากอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้ผู้ที่ร่วมเดินขึ้นดอยสุเทพหายเหนื่อยแล้ว ความสนุกสนานจากเสียงร้องเพลง และเสียงหัวเราะ ของเหล่าบรรดากลุ่มพี่ ๆ นักศึกษาที่พาบรรดาน้องใหม่จากสถาบันต่าง ๆ มาร่วมเดินขึ้นดอยกันอย่างคึกครื้น ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วเชียงใหม่ ขอบอกว่าพวกเขาต่างมาด้วยความมุ่งมั่นจริง ๆ

การ เดินขึ้นดอยสุเทพนอกจากจุดมุ่งหมายที่จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ และรำลึกถึงพระคุณแห่งครูบาศรีวิชัยที่ได้เป็นผู้นำในการสร้างถนนขึ้นดอยสุ เทพแล้ว ยังถือเป็นการฝึกความอดทนและความเพียรพยายามของผู้ที่เดินขึ้นเป็นอย่างมาก ทุกคนต่างเหนื่อยล้า แต่แสงสว่างของความสมัครสมาน สามัคคีกลับลุกโชติช่วงท่ามกลางความมืด ประหนึ่งกับแสงสว่างทั่วทุกมุมเมืองเชียงใหม่ที่สามารถมองเห็นได้จากจุดชม วิวระหว่างทางเดิน จบด้วยแสงพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณของวันใหม่ที่น่าจดจำ มันช่างคุ้มค่าอย่างหา ที่เปรียบไม่ได้






ที่มา : http://www.moohin.com/trips/chiangmai/walkupdoisuthep/